ป้องกันเข่าเสื่อม ด้วยตนเอง
ป้องกันไม่ให้ข้อเข่าเสื่อมได้อย่างไร
1. อย่ากิน และนั่งมากจนอ้วน
พบว่า ถ้าลดน้ำหนักตัวลงได้ประมาณ 5 กิโลกรัม สามารถลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมได้ถึง 50% มีหลักฐานยืนยันในผู้มีอาการปวดเข่า พบว่า อาการปวดจะดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ถ้าน้ำหนักตัวลดลง นอกจากนี้ การออกกำลังด้วยการเดินเร็วปานกลาง อย่างน้อยวันละครึ่งชั่วโมง ร่วมกับการควบคุมอาหารจะช่วยลดความอ้วนได้ดี
2. โครงสร้างเข่าผิดปกติ
ลักษณะโครงสร้างเข่าผิดปกติมีหลายชนิด เช่น เข่าโก่ง เข่าชิด หรือเข่าแอ่น ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เพื่อหาทางแก้ไขตั้งแต่อายุยังน้อย เช่น การเสริมรองเท้า การใส่อุปกรณ์ช่วยพยุง หรือถ้าไม่สามารถทำอะไรเพื่อแก้ไขได้ ควรใช้เข่าอย่างระมัดระวัง ไม่เสี่ยงเล่นกีฬาหนัก และหลีกเลี่ยงกีฬาที่ใช้เข่ามาก เช่น แบคมินตัน เทนนิส ฟุตบอล ไม่นั่งยอง ๆ หรือนั่งพื้นนาน ๆ
3. หลีกเลี่ยงการเล่นกีฬาปะทะ ที่จะนำมาซึ่งอาการบาดเจ็บของเข่า
ควรเล่นกีฬาเพื่อสุขภาพ ไม่ใช่เล่นกีฬาเพื่อเอามันส์ ไม่ควรเสี่ยง ปะทะ หรือเอาชนะกันอย่างเอาเป็นเอาตาย
4. ไม่ควรอยู่ในท่าคุกเข่า นั่งยอง ยืน เป็นเวลานาน
ผู้ที่ต้องคุกเข่าทำงานอาจต้องหาวัสดุที่นิ่มมารองบริเวณเข่า เพื่อกระจายแรงกด ถ้าจำเป็นอยู่ในท่าเหล่านี้นาน ๆ ให้พยายามเปลี่ยนอิริยาบถบ่อย ๆ เพื่อให้แรงกดที่ข้อสลับเปลี่ยนที่ไปเรื่อย ๆ ในกิจกรมทางศาสนาที่ต้องนั่งพับเพียบกับพื้นเป็นเวลานาน ให้สลับนั่งพับเพียบซ้าย-ขวาบ่อย ๆ ไม่ควรรอจนเข่าปวดแล้วจึงขยับ
5. หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่มีแรงกระแทก หรือแรงบิดต่อข้อเข่าสูง เช่น การกระโดดซ้ำ ๆ การยกของหนักเกินกำลัง การหมุนตัวด้วยการใช้หัวเข่า
6. ทำการลองวัดความยาวของช่วงขา
ให้นอนหงาย ปล่อยขาตามสบาย แต่ไม่ต้องกางขา ให้เพื่อนคลำปุ่มกระดูกบริเวณที่เท้าสะเอว (anterior superior iliac spine, ASIS) และกลางตาตุ่มของเท้าด้านใน วัดระยะห่างจากทั้ง 2 จุดในขาข้างหนึ่ง ถ้าขาทั้งสองข้างยาวไม่เท่ากันเกิน 2 เซนติเมตร ควรหารองเทาเสริมในระยะที่ขาดไป
7. ออกกำลังกล้ามเนื้อหน้าขาให้แข็งแรง
อาจใช้วิธีการที่ทำกันทั่วไป คือ นำถุงทรายน้ำหนัก 1-2 กิโลกรัม มาผูกกับข้อเท้า นั่งห้อยขา แล้วยกขึ้น-ลง ช้า ๆ ประมาณ 10 ครั้ง ให้เมื่อยแบบพอดี ๆ ให้ทำซ้ำอีก 2 เซ็ต ถ้ายังง่ายไป ก็เพิ่มน้ำหนักถุงทรายทีละ 0.5 กิโลกรัม จนได้น้ำหนักที่ยกได้ 10 ครั้ง แล้วเมื่อยพอดี ๆ หรือจะออกกำลังด้วยการยืนย่อเข่าทั้ง 2 ข้างประมาณ 20 องศา ค้างไว้ 1 วินาที แล้วเหยียดเข่า ทำซ้ำประมาณ 10 ครั้ง ถ้ารู้สึกว่าง่ายไป อาจยืนขาเดียวพิงฝา ปรับจนทำได้ประมาณ 10 ครั้ง แล้วเมื่อยพอดี แล้วทำซ้ำอีก 2 เซ็ต
8. ถ้ามีอาการบาดเจ็บที่เข่า เช่น มีอาการบวม ต้องทำการรักษา และงดการทำกิจกรรมที่ทำให้มีอาการปวดมากขึ้น และต้องระวังอย่าให้ช้ำ และอย่าปล่อยให้มีอาการเรื้อรัง
9. ไม่ควรใส่รองเท้าส้นสูง เพราะรองเท้าส้นสูงจะทำให้เข่าแอ่น และมีโอกาสที่จะเป็นสาเหตุของข้อเข่าเสื่อมได้ในอนาคต ในการเล่นกีฬา ควรสวมรองเท้าที่เหมาะกับกีฬา แต่ละประเภท เช่น รองเท้าวิ่ง ก็ควรมีส้นรองเท้าที่นิ่มรับแรงกระแทกได้ดี รองเท้าสำหรับใส่เล่นแบดมินตัน หรือเทนนิส ควรมีพื้นบาง เพื่อไม่ให้พลิกได้ง่าย เป็นต้น
อ่านเพิ่มเติม : งานวิจัย "พบมังคุด แก้ปัญหาข้อเข่าเสื่อม"
เรียบเรียงใหม่ : bgoodhealth.com , Sep. 2013
เอกสารอ้างอิง : ZhangY, Jordan J. Epidemiology of osteoarthritis.Rheum Dis Clin N Am 2008 : 34 : 515-29.
งานวิจัย APCO ข้อเสื่อม
ประโยชน์ของน้ำมังคุด สูตรงานวิจัยAPCO
รายการสุขอย่างเสรี ตอนที่ 1
คำถาม-คำตอบ ผู้มีปัญหา... ข้ออักเสบ-ข้อเสื่อม
โดย รศ.ดร.ภญ.อำไพ ปั้นทอง
คำถาม-คำตอบ ผู้มีปัญหา... ข้ออักเสบ-ข้อเสื่อม 2
โดย รศ.ดร.ภญ.อำไพ ปั้นทอง
คำถาม-คำตอบ ผู้มีปัญหา... ข้ออักเสบ 3
โดย รศ.ดร.ภญ.อำไพ ปั้นทอง
ข้อเข่าเสื่อม
คุณกฤษณา พูลทวีธรรม
ผู้มีปัญหา ข้อเข่าเสื่อม
คุณจินดารัตน์ สังข์เงิน
ผู้มีปัญหา ข้อเข่า เส้นเลือดตีบ และกระเพาะ
คุณโสภณ หลายชูไทย
ผู้มีปัญหา แพ้อากาศ กรดไหลย้อน ข้อเข่า
Mr.Jay Wisecarver
ผู้มีปัญหา ภูมิแพ้ ปวดเข่า ปวดตามตัวจากการเล่นกีฬา
สัมภาษณ์ คุณสมจิตต์ จัทร์ตระกูล
ผู้เคยเป็นปัญหาข้อเข่าเสื่อม