โรคช้ำรั่ว
โรคช้ำรั่ว
กลุ่มเสี่ยง
คนอ้วนที่มีน้ำหนักเกินมาก ๆ ผู้ที่มีโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ พบได้ตั้งแต่อายุ 18 - 80 ปี แต่ที่พบมาก มักอายุเกิน 40 ปีขึ้นไป
ลักษณะของโรค
โรคช้ำรั่ว หรือ Overactive Biadder นี้เป็นอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่แบบปัจจุบันทันด่วน ที่กระเพาะปัสสาวะมีปฏิกิริยาไวต่อความรู้สึกมาก อั้นไม่อยู่ถึงขั้นปัสสาวะราดได้โดยง่าย
ลักษณะสำคัญของโรคนี้คือ จะรู้สึกปวดปัสสาวะบ่อยมากกว่า 8 ครั้งขึ้นไปต่อวัน และจะรู้สึกปวดปัสสาวะจนอั้นไม่ไหวอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง สาเหตุของการเกิดโรคนี้ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่มีความเป็นไปได้ว่าอาาจเกี่ยวพันกับกระแสประสาทที่ผิดปกติ
สิ่งที่่น่ากลัวที่สุดสำหรับโรคนี้ก็คือ ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ส่วนใหญ่จะไม่ทราบว่าตนเองเป็น มักจะเข้าใจผิดไปเองว่า อาการปัสสาวะบ่อยเกิดจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น จึงไม่ไปตรวจที่โรงพยาบาล
โรคนี้เกิดจากการบีบตัวของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะอย่างผิดจังหวะเวลาอันควร ซึ่งอาจเกิดจากการที่กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะไวเกินไป หรือจากการมีกระสประสาทที่ส่งผ่านมาทางใดทางหนึ่ง ซึ่งเป็นเส้นทางผิดปกติ ตรงไปกระตุ้นกระเพาะปัสสาวะเลย โดยโรคนี้เราจะพบว่า บาคนปวดอยู่ในระดับพอกลั้นได้ แต่เพียงแค่ไปถึงที่หมายเท่านั้น ก็จะักลายเป็นกลั้นไม่อยู่ขึ้นมาทันที บางคนได้ยินเสียงน้ำก๊อกไหลไม่ได้เป็นต้องปัสสาวะราด บางคนล้างมือเป็นไม่ได้ บางคนโดนอากาศเย็นเป็นไม่ได้ จะปวดขึ้นมาทันทีทันใด บางคนถูกกระตุ้นโดยเครื่องดื่ม หรืออาหารบางชนิด ตัวอย่างเครื่องดื่อมที่พบว่ามีผลกระทบมาก อย่างเช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลมทั้งหลาย จึงควรหลีกเลี่ยงจากสิ่งเหล่านี้
ผู้ชายก็สามารถเป็นได้โดยมีอัตราการเกิดพอ ๆ กัน แต่ผู้ชายอาการจะไม่ชัดเจนเท่า เพราะมีท่อปัสสาวะที่ยาวกว่า ทำให้กลั้นปัสสาวะได้ยาวนานกว่าด้วย อันนี้เป็นความได้เปรียบเชิงสรีระ ส่วนผู้หญิงนั้น ถ้ากระเพาะปัสสาวะบีบตัวแล้ว ก็จะมีแต่กล้ามเนื้อหูรูดคุมทางออกไว้เพียงด่านเดียว จึงเกิดปัสสาวะราดได้ง่ายกว่า
ข้อแนะนำสำหรับคนเป็นโรคนี้คือ การออกกำลังกายกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานให้ผู้ป่วยฝึกขมิบก้น เหมือนการยกอวัยวะส่วนท้องโดยยกขึ้นมา และขมิบก้นไว้ จะมี 2 จังหวะ โดยจังหวะแรก ขมิบไว้แล้วนับ 1 ถึง 5 ในใจ แล้วเริ่มคลาย และขมิบอีก ดดยขมิบแล้วนับ 1 แล้วปล่อย ทำช้ำ 5 ครั้ง คือ 1 รอบ วันหนึ่งทำประมาณ 30-40 รอบ สามารถทำได้ทุกอิริยาบถ เป็นการช่วยฝึกกล้ามเนื้อบริเวณอุ้งเชิงกรานให้แข็งแรงขึ้น
การปัสสาวะนั้น โดยปกติคนเราไม่ควรปัสสาวะถี่กว่า 8 ครั้งต่อวัน ตอนกลางคืนก็ไม่ควรลุกขึ้นมาปัสสาวะเกิน 2 ครั้ง แต่ทั้งหมดขึ้นอยู่กับว่าบุคคลนั้นดื่มน้ำมากน้อยแค่ไหนด้วย การตรวจปัสสาวะก็สามารถหาความเข้มข้นได้ ถ้าปัสสาวะบ่อยมาก และตรวจปัสสาวะแล้วพบว่ามีความเข้มข้นอยู่ในเกณฑ์ปกติ นั่นก็หมายความว่าสาเหตถุไม่ใช่การดื่มน้ำมาก เพราะบางคนดื่มน้ำ 4-5 ลิตร ก็ต้องบ่อยเป็นธรรมดา ไม่ใช่ภาวะกระเพาะปัสสาะบีบตัวไวเกินแต่อย่างใด
อีกภาวะหนึ่งก็คือ เมื่อไอ หนรือจามแล้วมีปัสสาวะเล็ดโดยที่ไม่ได้ปวดปัสสาวะอยู่ก่อน มักเกิดในผู้หญิงสูงอายุที่มีบุตรหลายคน มักจะได้ยินว่าเวลาออกกำลังกายจะมีปัสสาวะเล็ด แต่คนไข้จะบอกว่าไม่ได้ปวด คือ ไอแล้วมีปัสสาวะออกมา ต่างจากภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน ซึ่งจะปวดปัสสาวะ แต่บางคนก็มีโอกาสเกิดทั้งสองภาวะนี้ร่วมกัน
วิธีการรักษา
ออกกำลังกายกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานด้วยการขมิบก้น รับประทานยา หรือผ่าตัดแก้ไข
รู้ไว้ ห่างไกลโรค
ไม่ควรกลั้นปัสสาวะนาน ๆ หรือบ่อยครีั้ง ถ้ามีอาการผิดปกติ ควรรับการตรวจรักาาจากแพทย์ผู้เชียวชาญ